วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ส่งงาน 11-12-2554 (รอบบ่าย)

เมื่อตอนเช้าทุกท่านได้ทราบว่าการเร่งงานนั้นเป็นอย่างไร มีสูตรในการคำนวณที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี เพื่อให้ทุกคนได้ใช้สมองในตอนบ่ายให้มากที่สุด ผมจึงมี คำถามที่จะต้องส่งในเวลา 16.30 ของวันนี้ คือ
1. การเร่งงาน มีประโยชน์หรือไม่อย่างไร ให้ยกตัวอย่างประกอบ
          ตอบ: การเร่งงานมีประโยชน์ถ้ามองในแง่การดำเนินโครงการให้สำเร็จเร็วกว่าเป้าหมายของโครงการที่ตั้งไว้ และการเร่งงานนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มงานจากงบประมาณของโครงการที่ตั้งไว้ ยิ่งมีการเร่งงานมากขึ้นเท่าใด (ในเส้นทางวิกฤต) ค่าใช้จ่ายยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
การเร่งงานเพื่อทำให้เวลาแล้วเสร็จของโครงการเสร็จเร็วขึ้น จะต้องทำกับกิจกรรมที่อยู่ในเส้นทางวิกฤต หรือเร่งงานวิกฤตเท่านั้น ทั้งนี้เพราะการเร่งงานที่ไม่ใช่งานวิกฤตจะไม่มีผลทำให้เวลาแล้วเสร็จของโครงการเสร็จเร็วขึ้นแต่อย่างใด และการเลือกเร่งงานวิกฤตก็จะต้องเลือกเร่งงานที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเร่งรัดต่ำที่สุดก่อน นอกจากนี้การเร่งงานเพื่อทำให้โครงการแล้วเสร็จเร็วขึ้น ก็ควรทำเฉพาะเท่าที่ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการเร่งรัดโครงการ มีค่าสูงกว่าต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อการงาน ผลประโยชน์จากการเร่งงานโครงการให้เสร็จเร็วขึ้น
ตัวอย่างเช่น การเร่งงานเพื่อให้โครงการแล้วเสร็จโดยไม่ต้องเสียค่าปรับเนื่องจากสามารถเร่งรัดโครงการให้แล้วเสร็จตามกำหนด  หรือการลดค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินการโครงการเนื่องจากโครงการเสร็จเร็วขึ้น

2. การเร่งงาน ท่านคิดว่าปัจจัยอะไรที่จะต้องพิจารณาเป็นพิเศษ อธิบายประกอบเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นอะไร
          ตอบ:  ปัจจัยหลักที่จะต้องพิจารณาเป็นพิเศษในการเร่งงาน คือ การหาเส้นทางวิกฤต และดำเนินการเร่งงานวิกฤตที่มีต้นทุนการเร่งงานต่ำที่สุดก่อน การเร่งงานให้ทำทีละหน่วยเวลา และทำการเร่งงานจนกว่าจะได้เวลาแล้วเสร็จของโครงการตามที่ต้องการ หรือจนกว่าต้นทุนการเร่งงานจะมีค่าสูงกว่าผลประโยชน์ที่ได้จากการเร่งโครงการ (อธิบายตามรูป)
3. การเร่งงาน ที่ดี ท่านคิดว่าจะต้องเรียงลำดับความสำคัญจากอะไรก่อนหลัง เพราะ
                   ตอบ: ลำดับความสำคัญของการเร่งงาน สรุปดังนี้
                   3.1 รวบรวมข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างเวลาแล้วเสร็จ และต้นทุนของการดำเนินกิจกรรมของทุกกิจกรรมในโครงการ
                   3.2 วิเคราะห์หาเส้นทางวิกฤต
                   3.3 ดำเนินการเร่งงานวิกฤต

4. การพัฒนาโปรแกรมหรือระบบสารสนเทศใดๆ นั้น การเร่งงานมีส่วนมาเกี่ยวข้องหรือไม่อย่างไร
          ตอบ: การพัฒนาโปรแกรมหรือระบบสารสนเทศนั้น การเร่งงานถือว่ามีส่วนสำคัญอยู่บ้าง แต่ไม่ถือว่าสำคัญมากหากโปรแกรมหรือระบบสารสนเทศนั้นเสร็จทันตามเวลาที่กำหนด
          ตัวอย่างเช่น การทำโครงงานหรือค้นคว้าอิสระของนักศึกษา หากการบริหารโครงการไม่เป็นไปตามห่วงเวลาที่ตั้งไว้ อาจทำการให้โครงการเสร็จช้ากว่ากำหนด เป็นผลทำการสำเร็จการศึกษาไม่ทันตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ดังนั้นหากมีการบริการโครงการล่าช้าแล้ว ก็สามารถนำวิธีการเร่งงานมาช่วยได้ในบางกิจกรรมที่อยู่บนเส้นทางวิกฤต เพื่อย่นระยะเวลาของโครงการให้เสร็จตามกำหนดเวลาเดิมได้ ทั้งนี้อาจมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเร่งงาน

ส่งงาน 11-12-2554

เมื่อทำการ Copy ข้อมูลดังกล่าว (หน้า 1) และลงมือคำนวณโดยใช้โปรแกรม Excel แล้ว สรุปดังนี้ (กราบขออภัยอาจารย์ที่ส่งงานในช่วงเวลาทดเจ็บครับ)
 ตารางที่ 1 ตามโจทย์
 ตารางที่ 2 กำหนดหาค่า b
 ตารางที่ 3 การคำณวณหาค่า a
 ตารางที่ 4 แสดงเส้นทาง เส้นทางวิกฤต ค่าใช้จ่ายทางอ้อม และค่าใช้จ่ายทั้งโครงการ (TC)
 ตารางที่ 4 แสดงหมายกำหนดการ A มีแก้ไขเครื่องหมาย + เป็น - (ลบ)
 ตารางที่ 5 หมายกำหนดการ B (ถูกต้องตามตัวอย่าง)
 ตารางที่ 6 หมายกำหนดการ D (ถูกต้องตามตัวอย่าง)
ตารางที่ 7 หมายกำหนดการ E (ถูกต้องตามตัวอย่าง)

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สอบกลางภาควิชาบริหารโครงการ



·         คำถาม คือโครงการ (Project) ของท่านจะแล้วเสร็จกี่วันหากมีความน่าจะเป็นเท่ากับร้อยละ 83

ทั้งนี้ ให้ท่านสมมติงานย่อยในแต่โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศใดระบบหนึ่งที่ท่านสนใจ (โดยจะต้องระบุชื่อโครงการ) โดยให้มีงานย่อยอย่างน้อย 15 งาน (ซึ่งจะต้องมีงานทำก่อนและหลัง) โดยแต่ละงานย่อยให้ท่านสมมติ เวลา
a (ให้ท่านหาความหมายของ a ว่าคืออะไร) เวลา m (ให้ท่านหาความหมายของ m ว่าคืออะไร) และเวลา b (ให้ท่านหาความหมายของ b ว่าคืออะไร) ทั้งนี้ ท่านจะต้องเขียน AOA และ AON พร้อมให้บอกเส้นทางวิกฤตที่เกิดขึ้น ให้เวลาไม่เกิน 13.30 น. ครับ
------------------------------------------------------------------------------------------
ความน่าจะเป็น 0.83 หรือร้อยละ 83
โครงการพัฒนาระบบขออนุมัติเดินทางไปราชการ
------------------------------------------------------------------------------------------
กิจกรรม
งานที่ต้องทำเสร็จก่อน
เวลาดำเนินงาน (วัน)
a
m
b
1.ความเป็นมาโครงการ
----
1
4
7
2.ศึกษาความต้องการระบบ
----
3
4
5
3.ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
1,2
2
2
2
4.รวบรวมข้อมูล
3
2
2
2
5.วิเคราะห์ข้อมูล
3
3
4
5
6.ออกแบบระบบ
4,5
3
4
5
7.พัฒนาระบบ/เขียนโปรแกรม
6
4
6
8
8.ทดลองใช้งานระบบ
7
3
4
5
9.แก้ไขข้อผิดพลาดระบบ
8
2
2
2
10.จัดทำคู่มือการใช้งาน
9
4
6
8
11.ฝึกอบรมผู้ใช้งาน
10
3
4
5
12.นำระบบไปใช้งาน
10
2
2
2
13.ประเมินผล
10
1
4
7
14.ตรวจรับระบบ
11,12,13
2
2
2
15.ประเมินภาพรวมระบบใหม่
14
1
4
7

------------------------------------------------------------------------------------------

a เวลาที่ใช้น้อยที่สุดในการดำเนินโครงการ
m เวลาเฉลี่ยในการดำเนินโครงการ
b เวลาที่มากที่สุดในการดำเนินโครงการ

แผนภาพโครงการ





สรุป โครงการนี้จำนวนวันที่เป็นไปได้ = 0.95 วันครับ

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การบ้าน 27-11-1554

1. งานที่จะต้องส่งภายในวันนี้ คือ งานข้อ 9 ใน sheet Problem และ
2.ใช้ข้อมูลจากคำถามข้อ 12 จงหาว่า โครงการจะแล้วเสร็จภายใน 48 วันมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับเท่าไร และถ้าหากมีความน่าจะเป็นให้โครงการแล้วเสร็จเท่ากับ 0.86 แล้ว จำนวนวันที่จะเป็นไปได้มีค่าเท่ากับเท่าไร


วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ส่งการบ้าน

คำถามที่ 1 เอกสาร Power Point หน้า 13 มีกี่เส้นทาง ที่เป็นไปได้ และเส้นทางใดเป็น critical path พร้อมบอกระยะเวลาที่วิกฤต
ภาพ แสดงกำหนดเวลา CPM : Critical Path Method

มี 3 เส้นทาง คือ
1. A-D-I          (3)+(8)+(6) =17
2. B-E-G-J       (5)+(5)+(4)+(4) = 18
3. C-F-H-J       (7)+(5)+(5)+(4) = 21 เป็น Critical Path  (เป็นเส้นทางที่ใช้เวลามากสุด)

คำถามที่ 2 ท่านคิดว่า CPM กับ PERT ต่างกันอย่างไร หน้า 19 หน้า 26
ข้อแตกต่างสรุปได้ดังนี้
PERT คือ Program   Evaluation  and  Review  Technique
CPM คือ Critical  Path  Method

1.  PERT: Program  Evaluation  and  Review  Technique
เป็นแผนภาพที่ใช้สำหรับจัดตารางของงานในการพัฒนาระบบ  ซึ่งแสดงถึงลำดับการทำงานกับเวลา รวมทั้งยังอำนวยความสะดวกให้ผู้วางแผน พิจารณาว่างานใดที่มีผลกระทบทำให้งานอื่น ๆ ล่าช้ากว่ากำหนด แผนภาพนี้มีความละเอียดในการแสดงรายละเอียดของงานได้มากกว่า Gantt Chart ที่แสดงเพียงลำดับของงานกับเวลา
PERT เป็นเครื่องมือสำหรับการวางแผนและควบคุมให้งานต่าง ๆ สำเร็จภายในเวลาที่กำหนด และยังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็นในการทำให้โครงการที่วางไว้สำเร็จลุล่วง

ข้อดีของ PERT
1.ใช้พิจารณาจัดลำดับงานต่าง ๆ โดยเฉพาะงานที่ต้องทำเป็นอิสระจากกัน
2.ใช้ประมาณเวลาที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ทั้งโครงการ
3.สามารถชี้ให้เห็นงานที่มีผลกระทบต่องานอื่น ๆ ทั้งโครงการ ถ้างานนั้นสำเร็จล่าช้ากว่ากำหนด
4.ใช้ประมาณค่าเฉลี่ยของเวลาที่ใช้สำหรับการทำตารางใหม่ เพื่อให้โครงการสำเร็จ
5.ใช้คำนวณเวลาที่ต้องใช้มากที่สุดสำหรับโครงการ

2.  CPM: Critical Path Method
เป็นเครื่องมือทางด้านการจัดการเพื่อใช้ในการกำหนด  การรวม  และวิเคราะห์กิจกรรม
ต่าง ๆ  ที่จะต้องทำในโครงการอย่างประหยัดที่สุดและให้เสร็จทันเวลา  โดยเริ่มจากการแยกกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการออกเป็นกิจกรรมย่อย ๆ  ซึ่งกิจกรรมแต่ละกิจกรรมจะต้องใช้เวลาในการทำงานเป็นช่วงเวลาหนึ่ง  ฉะนั้นจึงจะมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของแต่ละกิจกรรม  ใช้ลูกศรเชื่อมระหว่างกิจกรรมและมีลำดับหรือคำอธิบายกิจกรรมและตัวเลขกำกับไว้ที่ลูกศรแต่ละอันซึ่งตัวเลขที่กำกับนี้จะเป็นเวลาที่ใช้ทำงานจากกิจกรรมหนึ่งไปยังอีกกิจกรรมหนึ่ง Critical Path คือ การคำนวณระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นกิจกรรมแรกไปจนเสร็จสิ้นกิจกรรมสุดท้าย หากมีกิจกรรมที่ทำพร้อมกัน (เส้นขนานกัน) ให้ใช้เวลาที่นานที่สุดมาทำการคำนวณ

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ระบบขออนุมัติเดินทางไปราชการของบุคลากรสำนักงานจังหวัดมุกดาหาร

1. ชื่อโครงการ
ระบบขออนุมัติเดินทางไปราชการของบุคลากรสำนักงานจังหวัดมุกดาหาร

2. ความเป็นมาของโครงงาน
          สำนักงานจังหวัดมุกดาหารเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นส่วนราชการส่วนภูมิภาคที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล อีกทั้งเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่สนับสนุนงานของผู้ว่าราชการจังหวัดด้านการบริหารงานตามยุทธศาสตร์จังหวัด ทำให้บุคลากรในสังกัดมีการเดินทางไปราชการบ่อย เพื่อติดต่อประสานงานโครงการกับส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานในส่วนภูมิภาคที่ตั้งอยู่ต่างจังหวัด และหน่วยงานราชการที่ตั้งอยู่ส่วนกลาง ปัจจุบันการขออนุมัติเดินทางไปราชการของบุคลากรจะต้องทำบันทึกข้อความเสนอให้ผู้บังคับบัญชาอนุมัติ ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรกระดาษและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง บางครั้งผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการอนุมัติ เดินทางไปราชการหรือปฏิบัติหน้าที่อยู่นอกหน่วยงานทำให้การอนุมัติ เกิดความล่าช้า
          จากปัญหาดังกล่าว สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่ในปัจจุบันมาประยุกต์ใช้ โดยปรับเปลี่ยนการขออนุมัติเดินทางไปราชการจากเดิมขออนุมัติผ่านบันทึกข้อความ เป็นการขออนุมัติผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจะทำให้การขออนุมัติมีความรวดเร็ว ลดเวลาขั้นตอนในการขออนุมัติ ลดการใช้ทรัพยากรกระดาษ สามารถตรวจสอบการขออนุมัติเดินทางไปราชการของบุคลากร จำนวนงบประมาณที่ใช้จ่าย และที่สำคัญผู้บังคับบัญชาระดับสูงในจังหวัด เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด สามารถดูรายงานผ่านระบบออนไลน์ได้
         
3. วัตถุประสงค์
          เพื่อพัฒนาระบบขออนุมัติเดินทางไปราชการของบุคลากรสำนักงานจังหวัดมุกดาหาร

4. ขอบเขตของโครงการ
          1. พัฒนาระบบขออนุมัติเดินทางไปราชการของบุคลากรสำนักงานจังหวัดมุกดาหาร
          2. ระบบสามารถบันทึกข้อมูล แก้ไขข้อมูล ลบข้อมูล และรายงานข้อมูล
          3. พัฒนาระบบในรูปแบบของ Web-Based Application    

5. ลำดับขั้นตอนการดำเนินงาน
การดำเนินการพัฒนาระบบขออนุมัติเดินทางไปราชการของบุคลากรสำนักงานจังหวัดมุกดาหาร มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
1. ศึกษารายละเอียดขั้นตอนการขออนุมัติเดินทางไปราชการ
2. วิเคราะห์และออกแบบระบบ
3. การพัฒนาระบบ
4. ทดสอบและปรับปรุงระบบ
5. สรุปผลและข้อเสนอแนะ

6. แผนภาพระยะเวลาดำเนินงาน
กิจกรรม/ขั้นตอนการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินการ
พ.ย.
54
ธ.ค.
54
ม.ค.
55
ก.พ.
55
มี.ค.
55
เม.ย.
55
พ.ค.
55
มิ.ย.
55
ศึกษารายละเอียดขั้นตอน
----------







วิเคราะห์และออกแบบระบบ

-----
----- 





การพัฒนาระบบ



------
------



ทดสอบและปรับปรุงระบบ




------


ติดตั้งใช้งานระบบ





------

สรุปผล







------------


7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ระบบขออนุมัติเดินทางไปราชการของบุคลากรสำนักงานจังหวัดมุกดาหาร
2. การขออนุมัติเดินทางไปราชการมีความรวดเร็ว ประหยัดทรัพยากรกระดาษ
3. ผู้บังคับบัญชาสามารถดูรายงานการขออนุมัติเดินทางไปราชการผ่านระบบออนไลน์
         
8. สถานที่ดำเนินงาน
          1. สำนักงานจังหวัดมุกดาหาร ชั้น 4 ศาลางกลางจังหวัดมุกดาหาร
          2. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

9. งบประมาณ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)

10. ผู้รับผิดชอบ นายรุ่งเพชร กันตะบุตร รหัส 5411600382

11. อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์.......................................................